วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์

ข้อสังเกต


เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์

คำนาม

1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ

ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ

พระบรมราชูปถัมภ์

พระบรมมหาราชวัง

พระบรมวงศานุวงศ์

2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง

พระราชลัญจกร

พระราชประวัติ

พระราชดำริ

พระราชทรัพย์

3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง

พระเก้าอี้

พระชะตา

พระโรค

พระตำหนัก

4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน

หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์

หมวดสรรพนาม

หมวดคำกริยา

หมวดเครื่องใช้

หมวดเครือญาติ

หมวดร่างกาย

คำราชาศัพท์



คำราชาศัพท์


คำราชาศัพท์ถ้าแปลตามรูปศัพท์ หมายถึง ศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำราชาศัพท์ใช้กับพระมหากษัตริย์ เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และคนสุภาพ ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษาที่ชาวไทยใช้สื่อสารกับบุคคล ดังกล่าวด้วยความเชื่อและการยกย่องมาแต่โบราณกาล

จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ

1. พระมหากษัตริย์

2. พระบรมวงศานุวงศ์

3. พระสงฆ์

4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง

5. สุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์แบ่งได้ 6 หมวด คือ

1. หมวดร่างกาย

2. หมวดเครือญาติ

3. หมวดเครื่องใช้

4. หมวดกริยา

5. หมวดสรรพนาม

6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์